เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เป็นองค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาสังคมประเทศชาติ ด้วยการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ในองค์กรของทั้ง ภาครัฐและเอกชน ด้วยการพัฒนาจิตใจ พัฒนา พฤติกรรม โดยยึดหลักพัฒนาอะไรก็ติดหากจิตไม่ พัฒนา อันเป็นพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพบริการ คุณภาพการผลิต คุณภาพการทำงาน รวมทั้งเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพัฒนาให้สามารถ ปฎิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสร้าง จิตสำนึก ความรักองค์กร รักงาน ขยัน สู้งานหนัก มี ความรับผิดชอบพัฒนางาน สร้างคุณภาพทุรูป แบบ **สัญลักษณ์ของชมรมนักพัฒนาฯ เป็น รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าภายใน มีดอกบัวที่มีสามกลีบ ด้านซ้ายและขวาของรูปสาม เหลี่ยมเป็นแถบสีธงชาติ ด้านล่างเป็นชื่อของชมรมฯ ทีความหมายดังนี้ • รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าด้านซ้ายและขวาเป็นแถบสีธงชาติ ด้านล่างเป็นชื่อชมรมฯ หมายถึงเป้าหมายสูงสุดของชมรมฯ คื่อเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ•รูปดอกบัวสามกลีบภายในสามเหลี่ยม หมายถึง อุดมการณ์สามข้อ ของนักพัฒนา คือ•◦ขยัน - อย่างฉลาดปราศจากอบายมุข◦ พึ่งตนเอง - อย่างมีศักดิ์ศรี วินัย◦ร่วมมือร่วมใจ - เห็นปัญหาของหน่วยงานและสังคม เป็นภาระกิจที่ต้องช่วยกันแก้ไข

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ดูงานอ่างศิลา




เมื่อวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ดิฉันได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่เทศบาลตำบลอ่างศิลากับทางคณะครูขอาจารย์และเพื่อนๆ ในภาควิชาสังคมวิทยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสังคมวิทยาเมือง ทั้งนี้ดิฉันก็ได้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเทศบาลตำบลอ่างศิลา คือ
ชุมชนอ่างศิลาแต่เดิม เป็นชุมชนหมู่บ้านชายทะเลมีท่าเทียบเรือสำเภา เพื่อขนถ่ายสินค้าจากจีน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรียกว่า “ตะพานหิน” ปัจจุบันเป็นท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา ประชาชนในชุมชนเป็นคนไทยชาวอ่างศิลาดั้งเดิม และเป็นชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบัน “อ่างศิลา” เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองชลบุรี มีประชากรประมาณ ๕,๕๐๐ คน มีพื้นที่ประมาณ ๒.๕ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 18.60 ตารางกิโลเมตร หรือ 11,615 ไร่ มีอาณาเขตการปกครอง จำนวน 4 ตำบล ประกอบด้วย 20 หมู่บ้าน ในพื้นที่เทศบาลตำบลอ่างศิลา มีประชากรทั้งสิ้น 28,007 คน ประกอบด้วย 14,848 หลังคาเรือน เฉลี่ยหลังคาเรือนละ 2 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,506 คนต่อตารางกิโลเมตร
“อ่างศิลา” มีลักษณะเป็นชุมชนศูนย์กลางการเกษตร ให้บริการพาณิชยการ บริการสังคม และเกษตรกรรมด้านการประมงชายฝั่ง อาชีพประมงเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งของชาวอ่างศิลา ทั้งนี้เนื่องจาก “อ่างศิลา” มีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเล ส่วนใหญ่เป็นการประมงชายฝั่งที่จับสัตว์น้ำด้วยวิธีต่างๆ เช่น การทำโป๊ะ อวนลาก อวนล้อม อวนลอย เลี้ยงหอยแมลงภู่ และเลี้ยงหอยนางรม เป็นต้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันชาวอ่างศิลายังคงประกอบอาชีพประมงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ “อ่างศิลา” กลายเป็นย่านอาหารทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี

ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าเเก่และน่าสนใจของตำบลอ่างศิลาที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาดูวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น อาชีพ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆภายในบริเวณสถานที่ดังกล่าว คือ ตลาดอ่างศิลา ภายในตลาดอ่างศิลานั้นมีการค้าขายของที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ไมว่าจะเป็นของกิน ของเล่น หรือ เสื้อผ้าก็ตามก้มีทั้งหมดที่ตลาดอ่างศิลา เพราะถือว่าเป็นการอนุรักษ์สิ่งที่มีมาเเต่บรรพบุรุษเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้มาชื่นชมกัน ก็อยากให้คนที่มีโอกาสมาเที่ยวที่จังหวัดชลบุรีบ่อยๆ ได้ลองมาแวะชมตลาดเก่าอ่างศิลากันดู เพราะตลาดเก่าอ่างศิลามีอะไรมากกว่าที่ทุกคนคิด ถ้าใครมีโอกาสได้มาที่ตลาดเก่าอ่างศิลาจะต้องประทับใจอย่างไม่รู้ลืมเลยทีเดียว

สถานที่ที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ
- วัดอ่างศิลา
- ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ
- พระตำหนักมหาราช-พระตำหนักราชินี (จากสะพานปลา 100 ม.)
- ชายหาดอ่างศิลา และสะพานปลาอ่างศิลา
- จุดแวะชมค้างคาว

วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลอ่างศิลา
“พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมคุณภาพชีวิต”
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้เป็นเมืองที่น่าอยู่



2 ความคิดเห็น:

  1. อยากไปอ่างศิลาอีกจังเลย
    เดี๋ยวถ้ามีโอกาสเจอกันครั้งหน้านะอ่างศิลา

    ตอบลบ
  2. ไปกันอีกเนอะ

    ตอบลบ