เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เป็นองค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาสังคมประเทศชาติ ด้วยการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ในองค์กรของทั้ง ภาครัฐและเอกชน ด้วยการพัฒนาจิตใจ พัฒนา พฤติกรรม โดยยึดหลักพัฒนาอะไรก็ติดหากจิตไม่ พัฒนา อันเป็นพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพบริการ คุณภาพการผลิต คุณภาพการทำงาน รวมทั้งเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพัฒนาให้สามารถ ปฎิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสร้าง จิตสำนึก ความรักองค์กร รักงาน ขยัน สู้งานหนัก มี ความรับผิดชอบพัฒนางาน สร้างคุณภาพทุรูป แบบ **สัญลักษณ์ของชมรมนักพัฒนาฯ เป็น รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าภายใน มีดอกบัวที่มีสามกลีบ ด้านซ้ายและขวาของรูปสาม เหลี่ยมเป็นแถบสีธงชาติ ด้านล่างเป็นชื่อของชมรมฯ ทีความหมายดังนี้ • รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าด้านซ้ายและขวาเป็นแถบสีธงชาติ ด้านล่างเป็นชื่อชมรมฯ หมายถึงเป้าหมายสูงสุดของชมรมฯ คื่อเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ•รูปดอกบัวสามกลีบภายในสามเหลี่ยม หมายถึง อุดมการณ์สามข้อ ของนักพัฒนา คือ•◦ขยัน - อย่างฉลาดปราศจากอบายมุข◦ พึ่งตนเอง - อย่างมีศักดิ์ศรี วินัย◦ร่วมมือร่วมใจ - เห็นปัญหาของหน่วยงานและสังคม เป็นภาระกิจที่ต้องช่วยกันแก้ไข

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

สัตว์เลี้ยงแสนน่ารัก

แมวเป็นสัตว์ที่ฉลาดเป็นบางครั้งนะคะ แต่ถ้าคนที่เลี้ยงแมวแล้วอยู่กับแมวบ่อยๆก็จะรู้ว่าในความซื่อบื้อนั้นแฝงไปด้วยความน่ารัก

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทาสีวัดท้ายดอน


การทำกิจกรรมในครั้งนี้มีชื่อโครงการว่า"โครงการรักษ์เมือง"ก็เป็นโครงการหนึ่งในรายวิชาสังคมวิทยาเมือง เพื่อให้นิสิตทุกกลุ่มได้ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "สังคมเมือง" ในกิจกรรมครั้งนี้กลุ่มของดิฉันก็ได้ตกลงกันภายในกลุ่มว่าจะไปช่วยกันทาสีกำเเพงวัดราษฎร์ศรัทธา(วัดท้ายดอน)ซึ่งเป็นสถานที่ทางศาสนาสถานที่หนึ่งที่อยู่ในละเเวกบ้านของสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งก็เหมือนกับว่าได้พัฒนาชุมชนของตนเองไปในตัวด้วย ซึ่งในปีหน้าทางวัดจะมีการทำบุญฝังลูกนิมิตจึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสช่วยกันบูรณะซ่อมแซมวัดให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่ากิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก เพราะจะช่วยสร้างความรู้รักสามัคคีภายในหมู่คณะที่ร่วมมือร่วมใจกันสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น และที่สำคัญกิจกรรมในครั้งนี้ไม่ได้หวังเพียงแค่จะได้คะเเนนเพียงอย่างเดียวแต่ทุกคนมีจิตศรัทธาที่อยากสร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันอีกด้วย

















วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน



เนื่องจากสังคมในปัจจุบันมีสภาพที่เสื่อมโทรมมาก เหตุเกิดจากปัญหาสังคมในหลายด้าน หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญนั้น คือ ปัญหาเด็กและเยาวชน ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในปัญหาเหล่านี้ หน่วยงานนั้นก็คือ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิและพัฒนาเด็ก ซึ่งหน่วยงานนี้ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายและรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ที่มีปัญหามากมาเป็นอันดีบที่ 1 ของประเทศ คือ จังหวัดชลบุรี สถานการณ์ปัญหาจังหวัดชลบุรีที่เห็นในปัจจุบันก็คือ
-เยาวชนกระทำความผิดรุนแรงมากขึ้น
-เน้นเศรษฐกิจเป็นหลัก
-กระบวนการค้ามนุษย์(ในและนอกประเทศ)
-กระบวนการค้าเด็ก(เพศ/แรงงาน)
-กระบวนการค้ายาเสพติด(เด็กและเยาวชนเป็นเครื่องมือ)
-กระบวนการมาเฟียชาวต่างชาติ
-กลุ่มpdophiles มากขึ้น
ในเขตพื้นที่ของพัทยาในส่วนนี้ก็จะมี
-ปัญหาเด็กเร่ร่อนที่พัทยา
-พ่อแม่เป็นผุ้กู้เงินแต่กลับขายลูกเพื่อใช้หนี้
-หญิงไทยที่มีลูกติดจะโดนชาวต่างชาติหลอก
-ชาวต่างชาติที่มีความผิดปกติทางจิตจะชอบหลอกเด็กผู้ชายมาข่มขืนทำอนาจาร
โดยที่ปัญหาต่างๆเหล่านี้ทางศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาเด็กก็ให้ความช่วยเหลือโดยที่จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่ เรียกว่า "ครูข้างถนน" คือ ผู้ที่คอยช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนตามเเหล่งมั่วสุม ซ่องฯลฯ ลงสำรวจพื้นที่ที่คิดว่าน่าจะมีแหล่งที่เป็นที่มั่วสุมของเด็กเรร่อนและหลังจากนั้นก็ให้การช่วยเหลือโดยที่พามาอยู่ที่ศูนย์คุ้มครอง ทางศูนย์คุ้มครองได้
-จัดทำที่อยู่อาศัยให้เด็กอยู่
-ปลูกฝังให้เด็กอยู่ได้ด้วยตนเอง
-เน้นการพัฒนาคุณภาพด้านชีวิต
-อบรมพฤติกรรม
-ให้เด็กได้รับการศึกษา
กล่าวได้ว่าศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาเด็กเป็นหน่วยงานหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยให้สังคมในปัจจุบันลดความเสี่ยงและป้องกันช่วยเหลือในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสิทธิและเสรีภาพของเด็กที่ไม่มีโอกาสให้เด็กเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าบุคคลท่านใดพบการกระทำที่รุนเเรงต่อเด็กและสตรีก็สามารถติดต่อได้ที่
* ศูนย์คุ้มครองเด็ก 038-248037 สำนักงาน
*คุณศุภกร โนจา (ครูจา) 081-4111750,0819499349
**ปัญหาสังคมทุกปัญหาจะหมดไปถ้าคนทุกคนช่วยกันสอดส่องดูเเลเพราะเด็กคืออนาคตของชาติ แล้วคุณล่ะดูแลอนาคตของชาติดีพอหรือยังคะ**

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ดูงานอ่างศิลา




เมื่อวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ดิฉันได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่เทศบาลตำบลอ่างศิลากับทางคณะครูขอาจารย์และเพื่อนๆ ในภาควิชาสังคมวิทยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสังคมวิทยาเมือง ทั้งนี้ดิฉันก็ได้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเทศบาลตำบลอ่างศิลา คือ
ชุมชนอ่างศิลาแต่เดิม เป็นชุมชนหมู่บ้านชายทะเลมีท่าเทียบเรือสำเภา เพื่อขนถ่ายสินค้าจากจีน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรียกว่า “ตะพานหิน” ปัจจุบันเป็นท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา ประชาชนในชุมชนเป็นคนไทยชาวอ่างศิลาดั้งเดิม และเป็นชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบัน “อ่างศิลา” เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองชลบุรี มีประชากรประมาณ ๕,๕๐๐ คน มีพื้นที่ประมาณ ๒.๕ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 18.60 ตารางกิโลเมตร หรือ 11,615 ไร่ มีอาณาเขตการปกครอง จำนวน 4 ตำบล ประกอบด้วย 20 หมู่บ้าน ในพื้นที่เทศบาลตำบลอ่างศิลา มีประชากรทั้งสิ้น 28,007 คน ประกอบด้วย 14,848 หลังคาเรือน เฉลี่ยหลังคาเรือนละ 2 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,506 คนต่อตารางกิโลเมตร
“อ่างศิลา” มีลักษณะเป็นชุมชนศูนย์กลางการเกษตร ให้บริการพาณิชยการ บริการสังคม และเกษตรกรรมด้านการประมงชายฝั่ง อาชีพประมงเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งของชาวอ่างศิลา ทั้งนี้เนื่องจาก “อ่างศิลา” มีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเล ส่วนใหญ่เป็นการประมงชายฝั่งที่จับสัตว์น้ำด้วยวิธีต่างๆ เช่น การทำโป๊ะ อวนลาก อวนล้อม อวนลอย เลี้ยงหอยแมลงภู่ และเลี้ยงหอยนางรม เป็นต้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันชาวอ่างศิลายังคงประกอบอาชีพประมงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ “อ่างศิลา” กลายเป็นย่านอาหารทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี

ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าเเก่และน่าสนใจของตำบลอ่างศิลาที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาดูวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น อาชีพ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆภายในบริเวณสถานที่ดังกล่าว คือ ตลาดอ่างศิลา ภายในตลาดอ่างศิลานั้นมีการค้าขายของที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ไมว่าจะเป็นของกิน ของเล่น หรือ เสื้อผ้าก็ตามก้มีทั้งหมดที่ตลาดอ่างศิลา เพราะถือว่าเป็นการอนุรักษ์สิ่งที่มีมาเเต่บรรพบุรุษเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้มาชื่นชมกัน ก็อยากให้คนที่มีโอกาสมาเที่ยวที่จังหวัดชลบุรีบ่อยๆ ได้ลองมาแวะชมตลาดเก่าอ่างศิลากันดู เพราะตลาดเก่าอ่างศิลามีอะไรมากกว่าที่ทุกคนคิด ถ้าใครมีโอกาสได้มาที่ตลาดเก่าอ่างศิลาจะต้องประทับใจอย่างไม่รู้ลืมเลยทีเดียว

สถานที่ที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ
- วัดอ่างศิลา
- ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ
- พระตำหนักมหาราช-พระตำหนักราชินี (จากสะพานปลา 100 ม.)
- ชายหาดอ่างศิลา และสะพานปลาอ่างศิลา
- จุดแวะชมค้างคาว

วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลอ่างศิลา
“พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมคุณภาพชีวิต”
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้เป็นเมืองที่น่าอยู่



โครงการเรียนรู้เมือง (30 ชั่วโมง)





สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 และได้ขยายงานกว้างขึ้นเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2523 ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากจากรัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นมูลค่า 230 ล้านบาท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2525 เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ต่อมาศูนย์นี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพืชละสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่พบในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลที่มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน สาหร่ายทะเล ฟองน้ำ
ปะกะรัง เม่นทะเล และหอยชนิดต่างๆ จนถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ได้แก่ ปลาทะเล เต่าทะเล จระเข้น้ำเค็ม และสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เรือประมงทะเลของไทยและโบราณคดีใต้น้ำ
2. สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นส่วนที่รวบรวมพันธุ์สัตว์ทะเลที่มีชีวิตนานาชนิดมาจัดแสดงไว้ในตู้ขนาดต่างๆ ที่มีความจุน้ำตั้งแต่ ½ ตัน ถึง 200 ตัน จำนวนทั้งหมด 43 ตู้ รวมทั้งบ่อเลี้ยงข้างนอกตัวอาคาร 1 บ่อ โดยจัดแสดงสัตว์ทะเลที่พบตั้งแต่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะกะรัง ปลาทะเลสวยงาม ปลาทะเลเศรษฐกิจ ปลาทะเลรูปร่างแปลกและมีพิษ และปลาทะเลที่มีขนาดใหญ่
3. ห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการศึกษา ค้นคว้า และทำการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล รวมทั้งให้บริการแก่ชุมชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์และปัญหาพิเศษของนิสิต นักศึกษา
ฝ่ายวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล แบ่งออกเป็น 4 หน่วยวิจัย คือ
1.หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางทะเล
2 หน่วยวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3.หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล
4.หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล
เวลาทำการ: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดให้ประชาชนเข้าชมตามวันและเวลาดังนี้
วันธรรมดา 8.30 – 16.30 น. และ วันหยุดราชการ 8.30 – 16.30 น.

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นองค์กรๆ หนึ่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยบูรพา จึงเป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าเลือกที่จะไปศึกษาดูงานเพราะเป็นสถานที่ๆ ใกล้กับที่พักของข้าพเจ้าและไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น จึงช่วยประหยัดทั้งเวลาและทรัพย์สิน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจสถานที่หนึ่งของจังหวัดชลบุรีอีกด้วย การไปศึกษาในครั้งนี้ใช้เวลาในการศึกษาดูงานเป็นจำนวนเวลา 32 ชั่วโมง ( 8 ชั่วโมง / วัน) เป็นเวลา 4 วัน คือตั้งแต่

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30
วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30

ซึ่งในทุกๆ วันข้าพเจ้าก็ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายข้อมูลภายในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นบางเวลาที่ไปช่วยเจ้าหน้าที่ให้อาหารปลาที่ตู้ปลาใหญ่
จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันฯ การทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ ให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมภายในสถาบันฯ
นอกจากนี้ยังเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับทางสถาบันฯ อีกด้วย เพราะสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นองค์กรๆหนึ่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งถือว่าเป็นการทำชื่อเสียงในอีกทางหนึ่งด้านการท่องเที่ยวให้กับมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้าศึกษาเล่าเรียนอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฉันกับนันทนาการ


เมื่อในตอนที่ฉันได้ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดสระบุรี ก็ได้มีโอกาสได้ไปขี่ม้าที่คอกม้าเเห่งหนึ่งที่อำเภอทับกวาง จัดเป็นกิจกรรมนันทนาการประเภทหนึ่งที่ช่วยให้มีความเพลิดเพลิน เเละก็ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายอีกด้วย การไปดูงานครั้งนี้ถือว่าเป็นการพักผ่อนไปในตัว เพราะหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานแล้วก็ได้ผ่อนคลายในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำมาก่อน ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีอย่างหนึ่งในชีวิต

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประเทศแห่งเสรีภาพ




ที่ตั้ง - ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 1'09'เหนือ และ 1'29'เหนือ กับเส้นแวงที่ 103'36'เหนือ และ 104'25'เหนือ หรือประมาณ 137 กิโลเมตรเหนือเส้นศูนย์สูตร


พื้นที่ - ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยในบริเวณรอบ ๆ 63 เกาะ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 682.7 ตารางกิโลเมตร เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร


ภูมิอากาศ - อากาศร้อนชื้นตลอดปี และมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26.8-31 องศาเซลเซียส


วันชาติ - 9 สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อ 9 สิงหาคม 2508)


เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน - 8 สิงหาคม 2510
ภาษา - อังกฤษ (ภาษาราชการ) มาเลย์ จีนกลาง ทมิฬ
ศาสนา - พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%)


ประชากร - 4.19 ล้านคน (2546)
เชื้อชาติ - ประกอบด้วยชาวจีน (76.5%) ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)
เวลา - GMT+0800 (เวลาที่สิงคโปร์เร็วกว่าเวลาในไทย 1 ชั่วโมง)


การเมืองการปกครอง พรรคการเมือง - ประกอบด้วยพรรคการเมืองหลัก 3 พรรค ได้แก่ พรรค People’s Action Party (PAP) พรรค Singapore Democratic Party (SDA) และพรรค Workers’ Party (WP)
รูปแบบการปกครอง - สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร- ผู้นำสำคัญทางการเมืองนายเอส อาร์ นาธาน (S. R. Nathan) ประธานาธิบดี นายลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) รัฐมนตรีอาวุโส นายโก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok Tong) นายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ เอส จายากุมาร์ (Professor S. Jayakumar) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สถานการณ์การเมืองในสิงคโปร์- สถานการณ์ทางการเมืองโดยทั่วไปของสิงคโปร์ยังคงมีเสถียรภาพและความมั่นคง ภายใต้การบริหารของนายโก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โดยพรรค People’s Action Party (PAP) เนื่องจากการบริหารประเทศของพรรคดังกล่าวมีประสิทธิภาพดียิ่งมาโดยตลอด เป็นที่พอใจของประชาชนส่วนใหญ่- ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2544 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง 84 คน พรรค PAP ซึ่งเป็นพรรคที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภามาตั้งแต่สิงคโปร์เป็นเอกราช ได้ที่นั่งในสภา 82 ที่นั่ง ในขณะที่พรรค Singapore Democratic Party (SDA) และพรรค Workers’ Party (WP) ได้พรรคละ 1 ที่นั่ง คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดเดิม ปัจจุบัน พรรค PAP กำลังเตรียมการถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากผู้นำรุ่นที่สองคือนายโก๊ะ จ๊ก ตง ไปสู่ผู้นำคนต่อไป คือนายลี เซียน ลุง บุตรของนายลี กวน ยู - เมื่อ 28 เมษายน 2546 สำนักนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรีสิงคโปร์ ซึ่งมีการปรับในหลายลักษณะทั้งการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น (4 ตำแหน่ง) การปรับตำแหน่งในระดับเท่ากันหรือลดลง (6 ตำแหน่ง) และ การพ้นจากตำแหน่ง 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามคำร้องขอของรัฐมนตรีเอง- เมื่อ 17 สิงหาคม 2546 นายโก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้กล่าวในสุนทรพจน์วันชาติว่า จะถ่ายโอนอำนาจให้นายลี เซียน ลุง รองนายกรัฐมนตรี ในปี 2548 ซึ่งเป็นไปตามความเห็นชอบจากทั้งคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่น ๆ เพื่อให้นายลีมีโอกาสปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 2 ปี ก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2550 ซึ่งจะเป็นการให้โอกาสประชาชนเห็นผลงานของนายลี เซียน ลุง และสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน
สถานการณ์ความมั่นคงในสิงคโปร์- เมื่อ 9-24 ธันวาคม 2544 สำนักงานความมั่นคงภายในสิงคโปร์ได้จับกุมบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย 15 คน โดยมีผู้ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 2 ปี จำนวน 13 คน (จาก 15 คน) ซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรลับอิสลามชื่อ “Jemaah Islamiyah” หรือ JI หรือกลุ่มชาวมุสลิมในสิงคโปร์ และเมื่อ 6 มกราคม 2545 ผู้ก่อการร้ายที่เหลือ 2 คนได้รับการปล่อยตัว โดยมีเงื่อนไขว่า ห้ามบุคคลทั้งสองติดต่อกับกลุ่มก่อการร้ายใด ๆ เป็นเวลา 2 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่ม Moro Islamic Liberation Front (MILF) เนื่องจากบุคคลทั้งสองมิได้เป็นสมาชิกกลุ่ม JI แต่เคยบริจาคเงินให้แก่กลุ่ม MILF ทั้งนี้ เป้าหมายในการก่อการร้ายของบุคคลดังกล่าว คือ ทรัพย์สินของสหรัฐฯ ในสิงคโปร์- เมื่อสิงหาคม 2545 ทางการสิงคโปร์ได้จับกุมชาวสิงคโปร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายอีก 21 คน โดยเป็นสมาชิกกลุ่ม JI 19 คน และเป็นสมาชิกกลุ่ม MILF 2 คน - สิงคโปร์เพิ่มมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย อาทิ การออกพระราชบัญญัติต่อต้านการฟอกเงิน และได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ ได้แก่ Home Front Security Centre, National Security Secretariat และ Joint Counter-Terrorism Centre - เมื่อมกราคม 2546 สิงคโปร์ได้จัดทำเอกสาร White Paper : the Jemaah Islamiyah Arrests adn the Threat of Terrorism ซึ่งบรรจุข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการจับกุมและการสอบสวนกลุ่มบุคคลที่ถูกจับกุม 2 เมื่อธันวาคม 2544 และสิงหาคม 2545- สิงคโปร์มีบทบาทแข็งขันในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเมื่อ 2 กันยายน 2546 นายโทนี่ ตัน รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และนายวอง กัน เส็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันแถลงเกี่ยวกับมาตรการการต่อต้านการก่อการร้ายของสิงคโปร์ โดยขอให้ผู้ประกอบการทุกแห่งเข้มงวดกับการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากสิงคโปร์ยังเป็นเป้าหมายของการก่อการร้าย ทั้งนี้ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปิดเผยและหยุดยั้งการกระทำของกลุ่ม Jemaah Islamiyah (JI) และแม้ว่ารัฐบาลสิงคโปร์จะดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่มีการดำเนินการใด ๆ ของกลุ่มก่อการร้ายในสิงคโปร์ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายก็ยังคงมีจุดมุ่งหมายเดิมคือการสร้างความไม่มั่นคง ให้แก่สิงคโปร์และทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล


เศรษฐกิจการค้า ระบบเศรษฐกิจ - เสรี
เงินตรา - ดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราแลกเปลี่ยน - 23.17 บาท/1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2546) - 1 ดอลลาร์สหรัฐ/1.70 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2546)
GDP - 90.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2545)- 24.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไตรมาสที่ 3 ของปี 2546)
GDP Growth - ร้อยละ 2.2 ( 2545) - ร้อยละ 1.8 (ไตรมาสที่ 3 ของปี 2546)- ร้อยละ 3.7 (ประมาณการไตรมาสที่ 4 ของปี 2546)
อัตราเงินเฟ้อ - ร้อยละ -0.4 (2545)
รายได้เฉลี่ยต่อหัว - 20,849 ดอลลาร์สหรัฐ (2545)
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ - 96,324 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ธันวาคม 2546)
ข้อมูลการค้า การค้าระหว่างประเทศ - มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 277,138.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2546)
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - มาเลเซีย สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์
ความตกลงการค้าเสรี - สิงคโปร์ได้หาทางขยายขอบเขตด้านเศรษฐกิจการค้าให้ครอบคลุมไปยังภูมิภาคอื่นที่มีศักยภาพ โดยได้เจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement) กับประเทศต่าง ๆ โดยนอกเหนือจากนิวซีแลนด์ในปี 2543 แล้ว สิงคโปร์ได้ลงนามความตกลงกับญี่ปุ่น กลุ่มเขตการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association: EFTA ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิคเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์) ในปี 2545 และในปี 2546 ได้ลงนามความตกลงไปแล้วกับออสเตรเลีย และสหรัฐฯ นอกจากนั้น สิงคโปร์กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงกับเม็กซิโก แคนาดา เกาหลีใต้ อินเดีย ศรีลังกา จอร์แดน และอาเซียน-จีน และแบบไตรภาคีกับนิวซีแลนด์และชิลีด้วย
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 2546- ในช่วงครึ่งแรกของปี 2546 สภาวะการค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามอิรักและการแพร่ระบาดของโรคหวัด SARS อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของสิงคโปร์ได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 9.6 ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2547 การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์จะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 8-10 และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 3-5 - นายโทนี่ ตัน รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้ความเห็นว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังคงเปราะบางและจำเป็นจะต้องมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2547 เพื่อให้สิงคโปร์สามารถฟื้นตัวได้อย่างมั่นคง และโดยที่สถานการณ์ระหว่างประเทศยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งสิงคโปร์ประสบกับปัญหาในการแข่งขันกับจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ไทยและมาเลเซีย สิงคโปร์จึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสร้างสาขา การส่งออกใหม่เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของตน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ให้ความเห็นว่า ในปี 2547 การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์จะได้รับประโยชน์จากการ ขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค ซึ่งมีจีนและอินเดียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญ- ในโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ National Day Rally เมื่อ 17 สิงหาคม 2546 นายโก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้ประกาศนโยบายการปรับลดอัตราการหักเงินสะสมใน Central Provident Fund (CPF) เพื่อเป็นการลดภาระด้านการเงินของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ตลอดจนเพื่อเพิ่มอัตราจ้างงานและขีดความสามารถในการแข่งขันของสิงคโปร์
สังคม- เน้นการสร้างความสมานฉันท์ทางสังคม เนื่องจากสิงคโปร์มีลักษณะเป็นพหุสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ สถาปนาความสัมพันธ์ - 20 กันยายน 2508
เอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ - นายฐากูร พานิช (Mr. Thakur Panich) (เข้ารับหน้าที่เมื่อมกราคม 2546) สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำไทย - นายชัน เฮง เวง (Mr. Chen Heng Wing) (เข้ารับหน้าที่เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2545) สถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย
สถานะความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สิงคโปร์- ไทยและสิงคโปร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันเมื่อ 20 กันยายน 2508 ความสัมพันธ์ได้ดำเนินมาอย่างราบรื่นบนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาตลอด 39 ปี และได้พัฒนาไปเป็นลักษณะ “หุ้นส่วน” ที่พร้อมจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เนื่องจากไทยและสิงคโปร์มีจุดแข็งและมีศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเป็นอย่างดี ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานจำนวนมาก และมีพื้นที่กว้างใหญ่ ส่วนสิงคโปร์มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีระดับสูงด้านอุตสาหกรรม ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่น้อย ซึ่งได้มีการนำจุดแข็งที่ทั้งสองฝ่ายมีมาใช้ร่วมกันจนนำ ไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์และการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืน



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ตัว MERLION สัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ตัวสิงโตทะเล หรือที่รู้จักในชื่อของ Merlion นี้ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำประเทศสิงคโปร์เลยทีเดียว โดยล่าสุดจากผลสำรวจ ของคณะกรรมการท่องเที่ยวของประเทศสิงคโปร์ ได้สำรวจออกมาพบว่า มีนักท่องเที่ยวกว่า 1 ล้านคน ที่เดินทางเข้ามาในประเทศสิงคโปร์ เพื่อเข้ามาชมชมรูปปั้นดังกล่าว โดยรูปปั้นมีลักษณะหัวเป็นสิงโต แต่ตัวเป็นปลา มีความสูงประมาณ 8.6 เมตร น้ำหนัก 70 ตัน ทำมาจากซีเมนต์ สร้างขึ้นโดย นาย Lim Nang Seng ช่างแกะสลักที่มีชื่อเสียงในประเทศสิงคโปร์ เดิมทีเดียว รูปปั้นดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำสิงคโปร์ ในสวนสาธารณะ Merlion บริเวณสะพาน Esplanade แต่ในเดือนเมษายน - กันยายน ปี 2002 นี้ ตัว Merlion นี้ จะถูกย้ายไปยังฝั่งตรงข้ามแทน
เกาะเซ็นโตซ่า ในบรรดาเกาะที่รายล้อมอยู่ใกล้ๆ กับประเทศสิงคโปร์ เกาะเซ็นโตซ่าถือได้ว่าเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันเกาะแห่งนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ ที่ใครต่อใครต้องแวะไปเมื่อไปเยือนสิงคโปร์ การเดินทางไปยังเกาะแห่งนี้สะดวกสบายมาก โดยคุณสามารถเดินทางไปได้ทั้งทางอากาศ ทางทะเล และทางบก แต่วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การโดยสารเคเบิ้ล คาร์ (Cable Car) ที่ตั้งอยู่บริเวณ Mount Faber บนเกาะแห่งนี้ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายหลายแห่ง แต่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ก็คือบริเวณ Asian Village ซึ่งภายในหมู่บ้าน เอเชียน แห่งนี้ จะประกอบด้วยหมู่บ้าน 3 แบบ ตั้งห่างจากกันอยู่บริเวณชายหาด โดยมีรูปแบบด้านสถาปัตยกรรมที่มาจากแหล่งต่างๆ ในแถบเอเชีย คุณสามารถเลือกซื้อของฝาก จากประเทศต่างๆ ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ ยังมีการแสดงข้างถนนอีกด้วย คุณจะเพลิดเพลินไปพร้อมกับการเลือกรับประทานอาหารหลายเชื้อชาติ ทั้ง อาหารพื้นเมือง อาหารจีน และอาหารมาเลย์ นอกจากนี้ ยังมี โลกใต้น้ำ พิพิธภัณฑ์ทางทะเลที่ดีที่สุดของเอเชีย และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของสิงคโปร์ ขณะที่พิพิธภัณฑ์อาณาจักรแมลง จะจัดแสดงแมลงต่างๆ มากมายหลายพันธุ์ ทั้งชนิดที่หายากและที่พบได้ทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์หินหายาก หรือ Rare Stone พิพิธภัณฑ์ Maritime ที่แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของ ท่าเรือสิงคโปร์ พร้อมหุ่นจำลองรูปเรือใบและเรือกลไฟ เป็นต้น
เกาะ Kusu เป็นทั้งสถานที่พักผ่อนและสถานที่เคารพสักการะ เกาะ Kusu นี้ได้รับสมญานามว่า เกาะเต่า นื่องจากมีตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีเต่ายักษ์ได้กลาย ร่างเป็นเกาะเพื่อช่วยเหลือชาวเรือจีน และมาเลย์สองคน ให้รอดชีวิตจากเรือที่อับปางลง ผู้รอดชีวิตทั้งสองจึงได้แสดงความขอบคุณตามวิถีความเป็นอยู่นั้น จึงเป็นเหตุผลอีกเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมเกาะเต่า จึงเป็นที่ตั้งของวัดในลัทธิเต๋า ชื่อ Tua Pek Kong พร้อมๆ กับเป็นที่ตั้งของศาลเจ้ามุสลิมบนเนินเขาที่มีชื่อว่า Keramat ในเดือนเก้า ตามจันทรคติของทั้งชาวจีนและชาวมาเลย์ จะพากันหลั่งไหลมาที่เกาะแห่งนี้ เพื่อสวดมนต์อ้อนวอนขอให้เจริญก้าวหน้า มีฐานะร่ำรวย ขณะที่ชาวมาเลย์จะต้องขึ้นถึงบันได 122 ขั้น ไปยัง Keramat เพื่อสวดมนต์อ้อนวอนต่อพระอัลเลาะห์
เกาะ Pulau Ubin ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสิงคโปร์ มีลักษณะคล้ายกับบูมเมอแรง บนเกาะมีเนินเขาวางทอดยาว ที่กลายเป็นเสน่ห์ที่พบได้ในเกาะแห่งนี้ ขณะที่บนชายฝั่ง มีสวนสาธารณะ ที่พักอาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติที่แวดล้อมไปด้วยหมู่พฤษชาติ แนะนำให้คุณเดินรอบๆ เกาะแห่งนี้ หรือไม่ก็สามารถเช่ารถจักรยาน ภายในหมู่บ้านและขี่ชมบรรยากาศรอบๆ ได้ สภาพแวดล้อมของเกาะแห่งนี้ ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้อย่างน่าทึ่ง ผสมผสานกับความสะดวกสบาย ท่ามกลางสวนมะพร้าวและสวนยาง รวมไปถึงฟาร์มเลี้ยงกุ้งและปลาแบบชาวเกาะ
เกาะ Palau Seking ทอดตัวอยู่ทางทิศตะวันตกระหว่างเกาะใหญ่ทั้งหลาย เป็นที่ตั้งของโรงกลั่นน้ำมัน อย่างไรก็ดี เกาะแห่งนี้ ก็ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้อย่าง เหนียวแน่น หมู่บ้านชาวมาเลย์ หรือทีเรียกว่า Kampong ที่ถูกสร้างขึ้นบนเขาสูงเหนือพื้นน้ำ ยังคงอยู่กันอย่างตามแบบวิถีชีวิตดั้งเดิม คุณสามารถเดินรอบเกาะแห่งนี้ได้ภายในเวลาครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
สวนสาธารณะ Haw Par Villa Dragon World ตั้งอยู่บนถนน Pasir Panjang ในปี ค.ศ. 1990 สวนแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงจนได้รับการกล่าวขานว่า เป็นสวนสาธารณะที่จัด แสดงเรื่องราวและตำนานของเทพเจ้าจีน ที่มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีเป็นแห่งแรกของโลก บริเวณสวนแห่งนี้ มีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการแสดง กลางแจ้งในโรงมหรสพ ซึ่งจะเล่นตามตำนานโบราณจีน หรือไม่ก็แสดงเรื่อง"กำเนิดโลก" ที่สวนแห่งนี้ ยังมีรูปปั้น Laughing Buddha ที่ปัจจุบันกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศสิงคโปร์
เขตจูร่ง เป็นแหล่งพื้นที่อุตสาหกรรม และยังเป็นแหล่งงานของชาวสิงคโปร์ บริเวณเขตจูร่งนี้ มีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ สวนนกจูล่ง ที่มีนกกว่า 500 ชนิด รวมแล้วกว่า 6,000 ตัวที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยสวนนกจูล่งแห่งนี้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสวนนกชั้นนำ ในภูมิภาคและยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธ์สัตว์ปีกอีกด้วย เชื่อหรือไม่ว่าสวนนกแห่งนี้มีนักท่องเที่ยว เข้าชมปีละกว่าล้านคน ถือได้ว่าเป็นไฮไลท์ของประเทศสิงคโปร์เลยทีเดียว นอกจากนี้บริเวณเขตจูร่ง ยังเป็นที่ตั้งของ สวนจีน-ญี่ปุ่นโดยสวนสองแห่งที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยสวนจีนที่รู้จักกันในชื่อว่า Yu Hua Yuen นั้น ตกแต่งตามสไตล์พระราชวัง ฤดูร้อนในนครปักกิ่ง ซึ่งเน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติ คุณสามารถพายเรือในทะเลสาบที่อยู่บริเวณสวนแห่งนี้ได้ด้วย นอกจากนี้ภายในสวนจีนยังมีสวนแห่งความงาม Yun Xin Yuan ซึ่งเป็นสวนที่จัดแสดงต้นบอนไซหลากหลายชนิด และยังมีพืชพันธุ์นานาชนิด รวมไปถึงต้นไม้อายุ 200 ปีที่รูปร่างคล้ายสิงโตด้วย
ลิ้ตเติ้ล อินเดีย ตั้งอยู่บริเวณถนน Serangoon หากคุณเดินเข้าไปย่านดังกล่าว คุณอาจจะคิดว่าคุณอยู่ในประเทศอินเดียก็เป็นไปได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะทุกย่างก้าวของคุณในเขตนี้ คุณจะได้ยินเสียงเพลงแขกสาวทั้งโสดและไม่โสด ต่างพากันเดินอวดโฉมในชุดสาหรี่สีสด ขณะที่โสตประสาทก็รับกลิ่นธูปหอม เครื่องเทศ ต่างที่วางขายอยู่บริเวณสองข้างทาง นอกจากนี้ บริเวณลิตเติ้ล อินเดีย นี้ ยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น่าสนใจอยู่มากมาย ซึ่งไม่ใช่มีแค่วัดฮินดูเท่านั้น แต่ยังมีศาลเจ้าและมัสยิด ที่มีชื่อเสียงตั้งอยู่ด้วย เหนือขึ้นไปบริเวณถนน Serangoon สามารถมองเห็นความยิ่งใหญ่ของวัด Sri Sreenivasa Perumal ได้แต่ไกล โดยวัดแห่งนี้ จะมีการแสดงการอวตารลงมาเกิดของพระวิษณุในชาติต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป ขณะเดียวกัน วัดดังกล่าวจะเป็นสถานที่ในการตั้งต้นจัดขบวนแห่เทศกาลไทยปุสัม (Thai-Pusam) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเดือนที่จัดงานจะขึ้นอยู่กับจันทรคติ โดยเทศกาลการแห่นี้ จะมีผู้ศรัทธานำเหล็กขนาดใหญ่ยาวทิ่มแทงลิ้นและแก้ม ทั้งสองข้าง พร้อมทั้งแบก Kavadis ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงนก ประดับตกแต่งด้วยลวดและขนนกยูง ซึ่งพิธีดังกล่าวมีขึ้นเพื่อแสดงความขอบคุณ หรือ ไม่ก็เพื่อวิงวอนขอบางสิ่งบางอย่างจากเทพมุรุกัน หรือเทพเจ้าผู้คุ้มครองผู้อ่อนเยาว์


วัด Sakya Muni Buddha Gaya เป็นวัดที่สร้างโดยพระสงฆ์ไทยนาม Vuthisasara วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่มีความสูงถึง 15 เมตร (49 ฟุต) โดยสิ่งที่ทำให้วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นๆ ก็คือ ประชาชน สามารถสัมผัสองค์พระพุทธรูปได้อย่างใกล้ชิด นอกจาก วัดแห่งศาสนาพุทธและฮินดูแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งที่ ตั้งของวัดซิกข์โดยวัดซิกข์ที่มีชื่อเสียงมีชื่อว่า วัด Khalsa Dharmak Sabha อยู่บนถนน Niven นักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมวัดแห่งนี้ต้องถอดรองเท้าและต้องมีสิ่งปกปิดศรีษะสวมไว้ด้วย
ตลาด Kandang Kerbau หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่าตลาด Zhu Jiao Centre ที่นี่คุณจะตื่นตาตื่นใจกับสินค้ามากมายหลายชนิด รวมไปถึงอาหารหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งมาเลย์ อินเดีย จีน ด้าน ถนน Serangoon เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่มีสินค้านานาชนิดวางล่อเงินในกระเป๋าของคุณอยู่ สำหรับคนที่ชอบเดิน ลองหาโอกาสเดินลัดเลาะตามตรอกซอกซอย เพื่อชมหน้ามุขเก่าแก่ และบานหน้าต่างที่เก๋ไก๋ ที่คนพื้นเมืองตั้งใจสร้างสรรค์ขึ้นมา อ้อ!!! อย่าลืมก้มศรีษะเพื่อหลบกระจกที่แขวนไว้เหนือบานประตูด้วย เพราะเชื่อกันว่า กระจกนี้มีไว้เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้เข้าบ้านได้สะดวก
รูปปั้น เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลเซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิล คือ ผู้ที่ค้นพบสิงคโปร์เป็นคนแรก โดยชาวสิงคโปร์ได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก โดยอนุสาวรีย์จะตั้งอยู่หน้าโรงละคร Victoria ขณะที่รูปปั้น ซึ่งทำมาจากทองสัมฤทธิ์ จะยืนหันหน้าไปทาง ด้านเหนือของ Boat Quay ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจุดที่เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิล ได้ขึ้นมาบนฝั่งเป็นครั้งแรก
เทศกาลสำคัญ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรมาจากหลากหลายเชื้อชาติทั้ง จีน มาเลย์ ฮินดู ดังนั้น เทศกาลต่างๆ ในสิงคโปร์จึงมีมากมายหลายเทศกาล นับตั้งแต่เทศกาลตรุษจีนในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ โดยจะมีการแสดงเต้นรำของมังกร การเดินขบวนพาเหรดต่างๆ และมีการจุดพลุในยามค่ำคืน บริเวณย่านไชน่า ทาวน์ ขณะที่ในช่วงเดือนรามาดอน เทศกาลสำคัญของชาวมุสลิม จะมีการตั้งร้านขายอาหารบริเวณ ถนนอาหรับ ใกล้กับมัสยิดสุลต่าน (Sultan Mosque) ในยามค่ำคืน และในช่วงสามวันสุดท้ายของเทศกาลรามาดอน จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เรียกว่า Hari Raya Puasa ขณะที่ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม จะเป็นช่วงงานเทศกาลวิสาขบูชา ซึ่งจะมีการจัดงานเพื่อเป็นการแสดงความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า และในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะมีการจัดเทศกาล Dragon Boat Festival ซึ่งเป็นที่ระลึกต่อนักบุญชาวจีนที่โดดน้ำตาย ต่อต้านการคอรัปชั่นของรัฐบาล โดยในเทศกาลดังกล่าวจะมีการจัดแข่งขันเรือข้ามอ่าวมารีน่า ขณะที่งานเทศกาล Hungry Ghosts จะมีการจัดงานในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งในงานดังกล่าวเชื่อกันว่าจะเป็นการปลดปล่อยดวงวิญญาณของคนตายเพื่อให้มาเฉลิมฉลองบนพื้นโลก โดยจะมีการจัดแสดงงิ้ว และอาหารมากมายให้ดวงวิญญาณเหล่านั้น