เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เป็นองค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาสังคมประเทศชาติ ด้วยการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ในองค์กรของทั้ง ภาครัฐและเอกชน ด้วยการพัฒนาจิตใจ พัฒนา พฤติกรรม โดยยึดหลักพัฒนาอะไรก็ติดหากจิตไม่ พัฒนา อันเป็นพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพบริการ คุณภาพการผลิต คุณภาพการทำงาน รวมทั้งเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพัฒนาให้สามารถ ปฎิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสร้าง จิตสำนึก ความรักองค์กร รักงาน ขยัน สู้งานหนัก มี ความรับผิดชอบพัฒนางาน สร้างคุณภาพทุรูป แบบ **สัญลักษณ์ของชมรมนักพัฒนาฯ เป็น รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าภายใน มีดอกบัวที่มีสามกลีบ ด้านซ้ายและขวาของรูปสาม เหลี่ยมเป็นแถบสีธงชาติ ด้านล่างเป็นชื่อของชมรมฯ ทีความหมายดังนี้ • รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าด้านซ้ายและขวาเป็นแถบสีธงชาติ ด้านล่างเป็นชื่อชมรมฯ หมายถึงเป้าหมายสูงสุดของชมรมฯ คื่อเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ•รูปดอกบัวสามกลีบภายในสามเหลี่ยม หมายถึง อุดมการณ์สามข้อ ของนักพัฒนา คือ•◦ขยัน - อย่างฉลาดปราศจากอบายมุข◦ พึ่งตนเอง - อย่างมีศักดิ์ศรี วินัย◦ร่วมมือร่วมใจ - เห็นปัญหาของหน่วยงานและสังคม เป็นภาระกิจที่ต้องช่วยกันแก้ไข

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงการเรียนรู้เมือง (30 ชั่วโมง)





สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 และได้ขยายงานกว้างขึ้นเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2523 ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากจากรัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นมูลค่า 230 ล้านบาท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2525 เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ต่อมาศูนย์นี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพืชละสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่พบในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลที่มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน สาหร่ายทะเล ฟองน้ำ
ปะกะรัง เม่นทะเล และหอยชนิดต่างๆ จนถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ได้แก่ ปลาทะเล เต่าทะเล จระเข้น้ำเค็ม และสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เรือประมงทะเลของไทยและโบราณคดีใต้น้ำ
2. สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นส่วนที่รวบรวมพันธุ์สัตว์ทะเลที่มีชีวิตนานาชนิดมาจัดแสดงไว้ในตู้ขนาดต่างๆ ที่มีความจุน้ำตั้งแต่ ½ ตัน ถึง 200 ตัน จำนวนทั้งหมด 43 ตู้ รวมทั้งบ่อเลี้ยงข้างนอกตัวอาคาร 1 บ่อ โดยจัดแสดงสัตว์ทะเลที่พบตั้งแต่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะกะรัง ปลาทะเลสวยงาม ปลาทะเลเศรษฐกิจ ปลาทะเลรูปร่างแปลกและมีพิษ และปลาทะเลที่มีขนาดใหญ่
3. ห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการศึกษา ค้นคว้า และทำการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล รวมทั้งให้บริการแก่ชุมชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์และปัญหาพิเศษของนิสิต นักศึกษา
ฝ่ายวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล แบ่งออกเป็น 4 หน่วยวิจัย คือ
1.หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางทะเล
2 หน่วยวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3.หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล
4.หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล
เวลาทำการ: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดให้ประชาชนเข้าชมตามวันและเวลาดังนี้
วันธรรมดา 8.30 – 16.30 น. และ วันหยุดราชการ 8.30 – 16.30 น.

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นองค์กรๆ หนึ่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยบูรพา จึงเป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าเลือกที่จะไปศึกษาดูงานเพราะเป็นสถานที่ๆ ใกล้กับที่พักของข้าพเจ้าและไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น จึงช่วยประหยัดทั้งเวลาและทรัพย์สิน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจสถานที่หนึ่งของจังหวัดชลบุรีอีกด้วย การไปศึกษาในครั้งนี้ใช้เวลาในการศึกษาดูงานเป็นจำนวนเวลา 32 ชั่วโมง ( 8 ชั่วโมง / วัน) เป็นเวลา 4 วัน คือตั้งแต่

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30
วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 16.30

ซึ่งในทุกๆ วันข้าพเจ้าก็ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายข้อมูลภายในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นบางเวลาที่ไปช่วยเจ้าหน้าที่ให้อาหารปลาที่ตู้ปลาใหญ่
จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันฯ การทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ ให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมภายในสถาบันฯ
นอกจากนี้ยังเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับทางสถาบันฯ อีกด้วย เพราะสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นองค์กรๆหนึ่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งถือว่าเป็นการทำชื่อเสียงในอีกทางหนึ่งด้านการท่องเที่ยวให้กับมหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้าศึกษาเล่าเรียนอีกด้วย

1 ความคิดเห็น: